อินเตอร์เน็ต (Internet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อ TCP/IP ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสาร (เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail การส่งผ่านเอกสารซึ่งอยู่ในรูปแบบแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์) และการใช้ทรัพยากรร่วมกัน อันได้แก่ ทรัพยากรสารสนเทศ (Information) ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ (Hardware) ทรัพยากรซอฟแวร์ (Software) และ ทรัพยากรบุคคล (Peopleware) เป็นต้น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่มีใครคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มคนใดกลุ่มหนึ่งเป็นเจ้าของ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นของทุกคนที่เข้ามาเชื่อมต่อการจัดการเครือข่ายเป็นความร่วมมือซึ่งกันและกัน โดยต่างคนต่างดูแลจัดการเครือข่ายของตนเอง และมีองค์กรกลาง ชื่อ ISOC (Internet Society) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความร่วมมือและการประสานงานของเครือข่ายและเทคโนโลยีการเชื่อมต่อตลอดจนการประยุกต์ใช้งานของเครือข่ายทั่วโลก องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2535
อินเตอร์เน็ต เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเดียวที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลก เข้าด้วยกันโดยรวมผู้ใช้กว่า 60 ล้านคนเพื่อประกอบกิจกรรมหลากหลายตั้งแต่การพูดคุยสนทนาการสื่อสารข้อมูลการแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้การค้าขายแบบอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษาทางไกล ฯลฯ เมื่อครั้งที่อินเตอร์เน็ตถือกำเนิดขึ้นนั้นไม่มีใครเคยคาดคิดว่ามันจะกลายมาเป็นเครือข่ายที่มีบทบาทกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันจนถึงขนาดที่กำลังจะปฏิวัติวิธีการดำเนินชีวิตของประชากรโลกในศตวรรษหน้ากล่าวคือเมื่อ 20 ปีก่อน กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้มีมติด่วนให้พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่าARPANETจุดมุ่งหมายคือให้เป็นเครือข่ายที่มีความเชื่อถือได้สูงสามารถที่จะทำงานได้แม้ภายหลังที่อเมริกาถูกถล่มโดยอาวุธนิวเคลียร์ ดังนั้นเทคโนโลยีที่ใช้เชื่อมเครือข่ายต้องมีความสามารถที่จะทำงานกับโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เหลือจากการทำลายของอาวุธนิวเคลียร์ เช่น หากโครงข่ายโทรศัพท์ และ เคเบิลถูกทำลายในบางพื้นที่ เครือข่ายจะยังคงทำงานได้โดยการสลับมาใช้โครงข่ายอื่น เช่น โครงข่ายดาวเทียม หรือวิทยุ เป็นต้น นอกจากนั้นเทคโนโลยีดังกล่าวต้องมีความสามารถในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างประเภทและต่างรุ่นที่มีอยู่ทั่วไปตามฐานทัพต่าง ๆ ในครั้งนั้นการพัฒนาเครือข่าย ARPANET ได้กระทำร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้งหน่วยงานสำคัญ ๆ เช่นองค์การ NASA ทำให้ ARPANET เริ่มเติบโตโดยเริ่มมีการใช้งานมากขึ้นสำหรับการศึกษาและการวิจัย ถึงแม้จะเริ่มมีการพัฒนาเครือข่ายอื่น ๆ
การใช้งานอินเตอร์เน็ตในยุคแรก ๆ ส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่ ในวงการศึกษาวิจัย และการทหารเป็นหลัก ไม่ได้มีการใช้ในเชิงพาณิชย์ อย่างกว้างขวางเหมือนในปัจจุบันจุดเปลี่ยนนั้นเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1992 นักวิทยาศาสตร์แห่งศูนย์ค้นคว้าวิจัยทางฟิสิกส์ CERN ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างศูนย์ลูกข่ายที่ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วยุโรปให้สะดวกและรวดเร็วขึ้นโดยอาศัยระบบอินเตอร์เน็ตที่มีอยู่เดิม เพียงแต่มีวิธีติดต่อผู้ใช้ (User-Interface) ที่ใช้ง่ายขึ้นเทคโนโลยีดังกล่าวอาศัยพื้นฐานการทำงานที่เรียกว่า Hypertext ที่สามารถเชื่อมโยงเอกสารที่อยู่หลาย ๆ แห่ง ซึ่งอาจอยู่บนคอมพิวเตอร์คนละเครื่องเข้าด้วยกันจนคล้ายกับว่ามีเอกสารอยู่ที่เดียว ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ถูกเรียกว่า HTML (HyperText Mark-up Language) ในเวลาต่อมาได้มีการเชื่อมโยงสื่ออื่น ๆ ที่ไม่ใช่เอกสารเช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ฯลฯ จนเกิดเป็นลักษณะของ Hypermedia ขึ้น จากการที่ระบบดังกล่าว สามารถเชื่อมโยงเอกสารจากหลาย ๆ แห่งเข้าด้วยกัน มันจึงถูกขนานนามว่า World Wide Web (WWW) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า WEB ในปัจจุบัน
ด้วยประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลของ WEB ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ทั้งข้อความ รูปภาพ เสียงได้ทำการแจก Browser ฟรีไม่คิดเงินเพื่อให้คนใช้ WEB มาก ๆ เมื่อตลาดมีศักยภาพสูงขึ้นจึงค่อยหารายได้จากการบริการใหม่อื่นๆ
ด้วยสถาปัตยกรรมที่แยกเนื้อหา (Contents) กับส่วนเข้าถึงเนื้อหา (Browser) ออกจากกัน ทำให้ WEB ยังคงความเป็นระบบเปิด ได้เหมือนอินเตอร์เน็ต กล่าวคือส่วนของ Browser สามารถแยกพัฒนาได้ต่างหากจากการพัฒนา Contents จึงทำให้มีความอิสระและความคล่องตัวสูง Browser ตัวแรกที่สั่นสะเทือนวงการมีชื่อว่า Mosaic นั้นมีความสามารถในการแสดงผลทางกราฟฟิกส์ รวมทั้งยังสามารถใช้งานได้ บนเครื่องคอมพิวเตอร์หลายแบบและหลายรุ่น เป็นซอฟท์แวร์ที่หามาใช้งานได้ง่ายโดยไม่ต้องเสียเงิน มีผลให้ WEB ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งปลายปี 1994 มีการประเมินกันว่า 80 % ของการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต เป็นการใช้บริการของ WEB
ภาพเคลื่อนไหว ตลอดจนข้อมูลแบบอื่น ทำให้การใช้งานในเชิงพาณิชย์เริ่มเป็นผลนับแต่นั้น มีการประยุกต์ WEB เพื่อการค้าหลากหลายรูปแบบ เช่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การโปรโมทสินค้า การติดต่อคู่ค้า การบริการลูกค้า การซื้อขายและสั่งสินค้า การสำรวจและวิจัยตลาด การให้การศึกษาและให้ข้อมูลในตัวสินค้าต่อกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น ในช่วงเริ่มแรกนั้น การใช้งานในเชิงพาณิชย์มีลักษณะเป็นการหว่าน เพื่อพัฒนาตลาด ด้วยบริการที่ไม่คิดเงิน เพื่อที่จะทำให้ตลาดเติบโตในลักษณะ Spiral-Up คือเมื่อยิ่งมีผู้ใช้ก็ยิ่งมีบริการมากขึ้น เช่น บริษัท NETSCAPE
ในด้านการศึกษา อินเตอร์เน็ตรองรับการใช้งานในด้านการศึกษา ค้นคว้าและวิจัย มาตั้งแต่ต้นแล้ว เพียงแต่ขอบเขต ของการให้บริการตลอดจน จำนวนและรูปแบบของบริการเพิ่งจะมีอัตราเติบโตที่สูงมากเมื่อไม่กี่ปีมานี้ แต่เดิมนักวิทยาศาสตร์อาศัยเพียง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ในการส่งข้อมูลงานวิจัย ไปยังกลุ่มเพื่อนร่วมงาน ต่อมามีการใช้งานกลุ่มสนทนา (Discussion Forum) ที่เรียกว่า USENET Newsgroups ซึ่งทำให้สามารถรวมผู้คน เข้ามาปรึกษาหารือได้คราวละมาก ๆ โดยในแต่ละ FORUM จะมีเรื่องที่กำหนดหัวข้อไว้เช่น soc.culture.thai เป็นกลุ่มสนทนาเกี่ยวกับเมืองไทยทั้งในด้านวัฒนธรรม สังคม การเมือง และเรื่องทั่วไป comp.security เป็นกลุ่มสนทนาที่จะคุยกัน เฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับความปลอดภัยบนระบบคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีกลุ่มสนทนาอยู่กว่า 8000 กลุ่มบนอินเตอร์เน็ต จากนั้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารก็ไม่จำกัดอยู่ใน วงการอาจารย์มหาวิทยาลัยเท่านั้น บุคคลทั่วไปที่สนใจก็สามารถเข้าไปสนทนาในเรื่องวิชาการใดใดก็ได้ ทำให้อินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการศึกษานอกโรงเรียน (Informal Education) เป็นอย่างมาก ยิ่งภายหลังจากที่เทคโนโลยี WEB ได้ก้าวเข้ามาสู่วงการอินเตอร์เน็ต ก็ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมมาก รูปแบบการใช้งาน (Applications) นั้นมีเหลือคณานับ เช่น การใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนแบบทางไกล (Distant Education and Wide Area Learning) สามารถส่งข้อมูลทั้งข้อความ รูปภาพ วิดีโอ เสียง อนิเมชัน ไปยังนักเรียนได้ทั่วโลก ซึ่งในขณะนี้ได้มีมหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่เกิดขึ้นบนอินเตอร์เน็ต เรียกว่ามหาวิทยาลัยจำแลง (Virtual University) ซึ่งเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนต่าง ๆ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ตัวมหาวิทยาลัยเป็นเพียง ที่ทำการเล็ก ๆ เท่านั้นแต่นักศึกษาจะมีความรู้สึกว่าใหญ่ เมื่อเข้าไปเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่เพียงแต่มหาวิทยาลัยจำแลง ที่อาศัยบริการอินเตอร์เน็ตในการถ่ายทอดความรู้ไปสู่นักศึกษาที่ห่างไกล มหาวิทยาลัยจริงหลาย ๆ แห่งก็ได้ใช้อินเตอร์เน็ต ในการจัดฝึกอบรมและสัมนาทางไกล มีงานประชุมทางวิทยาศาสตร์หลายต่อหลายแห่งที่เปลี่ยนจากการประชุมจริง
การถ่ายทอดความรู้ และ การถ่ายเทความมั่งคั่งทางปัญญาจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งรวดเร็วขึ้นอย่างมาก เราเคยใช้หนังสือเป็นตัวถ่ายทอดวิทยาการความรู้ เราเคยใช้การไปมาหาสู่ในการช่วยถ่ายเทภูมิปัญญาจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ขณะนี้เราก็ยังคงใช้มันอยู่ หากแต่นับวันมันจะมีสัดส่วนที่น้อยลง ทุกวันนี้เราถ่ายเทข่าวสารความรู้ผ่านทางสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing)
เราสามารถอ่านวารสารไบต์ และ ไทมส์ บนอินเตอร์เน็ต เราสามารถติดต่อพูดคุยผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสนทนา โทรศัพท์อินเตอร์เน็ต (Internet Phone) จนถึงการประชุมแบบเห็นภาพ (Video Conference) ทุกวันนี้เมื่อมีความรู้เกิดขึ้น ณ ที่ใด มันสามารถที่จะถ่ายเทไปยังที่อื่น ๆ ได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้คนได้มีโอกาสเสวยสุขกับทรัพยากรทางปัญญาได้รวดเร็ว และ ทั่วถึงกว่าเดิม กล่าวคือ มันได้เพิ่มอำนาจแก่มวลชน เพราะเมื่อมวลชนมีการศึกษาที่ดีขึ้น คุณภาพทางปัญญาที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างกันทั่วถึงขึ้น ย่อมกระจายอำนาจการตัดสินใจไปสู่กลุ่มคนกลุ่มใหญ่มากขึ้น การตัดสินใจใดใดของรัฐบาลจะถูกควบคุมโดยพลังสารสนเทศของมวลชน การทำธุรกิจจะเป็นไปในแนวทาง ที่ตอบสนองความต้องการของมวลชนทั้งนี้ภาคธุรกิจจะสามารถทราบความต้องการของมวลชนได้อย่างรวดเร็ว
ในด้านมืด อินเตอร์เน็ตก็ได้สร้างผลกระทบต่อมวลชนเช่นกัน ความสามารถในการเป็นสื่อในการถ่ายเททรัพยากรทางปัญญา จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งทำให้มันถูกใช้ในการก่ออาชญากรรม
และการก่อการร้ายได้ง่ายขึ้น อาชญากรสามารถที่จะเจาะเข้าไป หาข้อมูลเพื่อแสวงหาประโยชน์จากความลับในทางการค้า หรือเข้าไปขโมยเงินซึ่งอยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่าย อาชญากรจะมีความรู้มากขึ้น เพราะสามารถหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้ง่าย ตัวอย่างเช่น ข้อมูลการทำระเบิดซึ่งเขียนวิธีทำไว้อย่างละเอียดบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ต่อกับ WEB นักก่อการร้ายในปัจจุบันใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในการประสานงานการวางระเบิดทั่วโลก ข้อมูลต่าง ๆ สามารถถูกส่งไปยังหน่วยปฏิบัติการต่าง ๆ ของผู้ก่อการร้าย อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การเดินทางของข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ยังได้คุกคามต่อวัฒนธรรมของชนในหลายพื้นที่ที่ข้อมูลภายนอกอาจเป็นสิ่งต้องห้าม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ภาพโป๊และเปลือยซึ่งถือเป็นเรื่องแสนจะธรรมดาสำหรับประเทศในเขตยุโรปเหนือแต่เป็นสิ่งต้องห้ามในประเทศอาหรับ หรือแม้แต่ประเทศเราเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น